หนีตลาดสีแดง สู่ Blue Ocean

หนีตลาดสีแดง สู่ Blue Ocean

     ในช่วงปี พ.ศ. 2565 ถึงต้นปี พ.ศ. 2566 มีข่าวธุรกิจที่น่าสนใจและส่งแรง

กระเพื่อมแก่สังคมวงกว้าง คือ การขายธุรกิจ DTAC ของ Telenor Group ให้กับ True

Corporation ที่เป็นเจ้าของเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ True ด้วยมูลค่าที่มีการ

ประเมินไว้ราว 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ที่เหนือคาดหมาย

ของตลาดสื่อสารโทรคมนาคม และสังคมธุรกิจไทยอย่างมาก เพราะ Telenor Group ได้

ลงรากปักหลักดำ เนินธุรกิจในประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี โดยมีข้อมูลสำ คัญ

จากผู้บริหาร Telenor Group ที่เราคุ้นเคย คือ Sigve Brekke ถึงประเด็นการขายธุรกิจ

DTAC ได้อย่างน่าสนใจ คือ ทำ ให้ตลาดผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไทย ที่เดิมมีผู้เล่นหลัก

3 ราย โดยมี AIS เป็นผู้นำ ตลาดที่แข็งแกร่ง ให้เหลือผู้เล่นเพียง 2 ราย จากการผนึกรวม

DTAC และ True ที่จะทำ ให้มีศักยภาพการแข่งขันที่ทัดเทียม AIS ได้ ในขณะที่ Telenor

Group ได้ปรับ Vision ของตนสู่การเป็น Tech-Telecom ที่พร้อมจะสร้างนวัตกรรมทาง

เทคโนโลยีใหม่ ๆ สู่อุตสาหกรรมโทรคมนาคม ด้วยเทคโนโลยี 5G, AI (Artificial

intelligence) และ IoT (Internet of Things) โดยมีฐานธุรกิจในประเทศสิงค์โปร์

     แต่การที่ Telenor Group เลือกถอนตัวจากธุรกิจและตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่

ไทยในครั้งนี้ อาจจะสะท้อนภาพทะเลแดงเดือดของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทยได้อย่าง

ดี เพราะในปี พ.ศ. 2564 (ก่อนการควบรวมธุรกิจ) ประเทศไทยมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์

เคลื่อนที่ รวมกว่า 95 ล้านเลขหมาย จากจำ นวนประชากรที่มีกว่า 66 ล้านคน ดังนั้น การ

ถอนตัวจากตลาดในประเทศไทย รวมถึง มาเลเซีย (ไม่นับรวมการขายธุรกิจในเมียนมา จาก

ปัญหาการเมืองภายในประเทศ) จึงเป็นยุทธศาสตร์ธุรกิจของ Telenor Group ที่ต้องการ

หนีออกจากการแข่งขันในธุรกิจที่ตนเห็นว่าเป็นทะเลแดง (Red Ocean) ที่มีทั้ง AIS และ

True เป็นคู่แข่งแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดตลอดเวลา ไปสู่น่านน้ำ ธุรกิจใหม่ หรือ Blue

Ocean ที่เหลือแค่การแข่งขันกับตนเอง เพื่อตอบโจทย์ที่ลูกค้าต้องการได้สูงสุด และมี

โอกาสสร้างผลประโยชน์ตอบแทนกับตนเองได้มากกว่าเดิม

 

คุณอยู่ใน Red Ocean หรือไม่?

     จากกรณีตัวอย่างของธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ Telenor Group สามารถ

ถอดเป็นลักษณะของธุรกิจที่อยู่ใน Red Ocean ได้เป็น 3 ด้าน คือ

– ธุรกิจนั้น ๆ นำ เสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกัน สามารถ

ทดแทนกันได้หรือไม่?

– ธุรกิจนั้น ๆ มีการแข่งขันสูง ด้วยกลยุทธ์ราคา และ Promotion เพื่อช่วง

ชิงส่วนแบ่งทางการตลาดระหว่างกันหรือไม่?

– ธุรกิจนั้น ๆ เริ่มเข้าสู่ช่วงอิ่มตัว (Maturity Stage) ที่การเติบโตช้า ให้ผล

ตอบแทนหรือกำ ไรลดลงหรือไม่?

ย้อนกลับมาพิจารณาธุรกิจของคุณ … คุณอยู่ใน Red Ocean หรือไม่?

หากพบว่าธุรกิจของคุณกำ ลังจะเป็น หรือเป็น Red Ocean แล้ว คุณจำ เป็น

ต้องวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจและความสามารถทางการแข่งขันของคุณ ด้วยเครื่องมือ

ต่าง ๆ เช่น SWOT Analysis, BCG Matrix Model, 5Forces Model หรือแม้แต่

Business Model Canvas เป็นต้น ที่จะทำ ให้ทราบถึงสถานะของคุณในสนามแข่งขัน

ทางธุรกิจที่คุณอยู่ในปัจจุบัน … จากนั้น คือ ทางเลือกที่คุณจะอยู่สู้ต่อ เพราะยังมีแต้มต่อ

เหนือกว่าคู่แข่งขัน แล้วรอวัน “จบ” ต่อไปในอนาคต หรือจะเริ่มต้นออกเดินทางสู่โอกาส

ใหม่ที่เป็นทะเลสีคราม หรือ Blue Ocean ของคุณ เช่นเดียวกับ Telenor Group หรือ

Double A ที่ทำ ให้กระดาษ A4 เป็นมากกว่ากระดาษสำ นักงาน หรือ AIS Serenade ที่

ทำ ให้ลูกค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ AIS ดูเหนือกว่า ฯลฯ

 

สร้าง Blue Ocean ด้วย 4 Actions Framework

การตัดสินใจมุ่งหน้าสู่ Blue Ocean หรือทะเลสีครามที่กล่าวในข้างต้น ไม่ได้

หมายความถึงการออกจากธุรกิจเดิมของคุณ หากแต่เป็นการสร้างพื้นที่ทางการตลาด

ใหม่ของคุณขึ้นมา ด้วยการนำ เสนอคุณค่า (Value Proposition) ที่แตกต่างจากคู่

แข่งขันในตลาด สามารถตอบโจทย์ความต้องการหรือแก้ไขปัญหาที่ลูกค้ากำ ลังเผชิญ

(Pain Point) ได้ตรงกว่าและมากกว่า ซึ่งจะทำ ให้ธุรกิจของคุณหลุดพ้นจากสภาพการ

แข่งขันที่รุนแรงใน Red Ocean เพราะ Blue Ocean ใหม่นี้ คือ ตลาดของคุณที่จะเพิ่ม

ผลกำ ไรให้แก่ธุรกิจของคุณได้ในที่สุด

การออกจาก Red Ocean แล้วสร้าง Blue Ocean ของคุณขึ้นใหม่นั้น มี

หลากหลายเครื่องมือที่สามารถปรับหรือประยุกต์ใช้ได้ แต่ในทุก ๆ เครื่องมือเหล่านั้น

ล้วนอยู่บนพื้นฐานการศึกษาตนเอง ศึกษาคู่แข่ง และทำ ความเข้าใจปัญหาของลูกค้า

(Pain Point) โดยปราศจากอคติ (คิดเข้าข้างตนเอง) เป็นหลักสำ คัญ โดยเครื่องมือ

ค้นหา Blue Ocean ที่หลักสูตร Fast Mini MBA ขอแนะนำ เป็นเครื่องมือบื้องต้น คือ 4

Actions Framework ซึ่งง่ายต่อการศึกษาทำ ความเข้าใจและนำ ไปประยุกต์ใช้ ก่อนที่

คุณจะก้าวข้ามสู่เครื่องมืออื่น ๆ ที่มีรายละเอียด และวิธีการที่มากกว่าต่อไป

 

– Eliminate คือ การตัดสิ่งที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคกับการดำ เนินธุรกิจ

ออกไป เช่น พบว่าลูกค้าต้องรอบริการจากธุรกิจของคุณเป็นเวลานานและไม่แน่นอน คุณ

อาจจะนำ Application ระบบจองที่นั่งหรือการบริการ (Self-Check-in) มาให้บริการแก่

ลูกค้า เพื่อจองที่นั่งหรือรับบริการจากคุณได้ในช่วงเวลาหรือสถานที่ที่ลูกค้าสะดวก

– Reduce คือ การตัดหรือลดสิ่งที่ไม่ใช่สาระสำ คัญของธุรกิจ ซึ่งเราจะ

พบเห็นมากและนานมาแล้วจากตัวอย่างการดำ เนินธุรกิจของสายการบินต้นทุนต่ำ (Low

Cost Airline) ต่าง ๆ

– Rise คือ การเพิ่มสิ่งที่ลูกค้าของคุณต้องการ (จริง ๆ) เช่น นครชัยแอร์ ให้

บริการ NCA First Class สำ หรับผู้โดยสารที่ต้องการความสะดวก สบาย เป็นส่วนตัว

ระหว่างการเดินทางไปต่างจังหวัด เป็นต้น

– Create คือ การเพิ่มหรือสร้างสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนในธุรกิจ ซึ่งดูจะเป็นเรื่อง

ที่ยากที่สุดใน 4 Actions Framework แต่ก็อาจจะเป็นเพียงแค่ “เส้นผมบังภูเขา” …

ลองปรึกษา พูดคุย กับบุคลากร ที่ปรึกษา หรือเพื่อน คุณอาจจะได้คำ ตอบสำ หรับการ

สร้างสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนในธุรกิจได้ เช่น IKEA ที่มี Small Land สำ หรับเด็กเล็ก ที่ผู้

ปกครอง พ่อ-แม่ สามารถฝากเด็ก ๆ ของตนกับพนักงานใจดีของ IKEA ให้เป็นผู้ดูแลใน

พื้นที่ที่ปลอดภัย สนุก ได้เรียนรู้ หรือพักผ่อน ขณะที่ผู้ปกครอง หรือพ่อ-แม่ สามารถ

เข้าไปจับจ่ายซื้อสินค้าใน IKEA ได้อย่างเต็มที่

 

เริ่มต้นหาหรือสร้าง Blue Ocean ของคุณจาก 4 Actions Framework ข้าง

ต้น แล้วจะลองใช้เครื่องมืออื่น ๆ เช่น 6 Paths Framework หรือ Strategy Canvas

ฯลฯ เพื่อช่วยให้ภาพ Blue Ocean ของคุณมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้นก็ได้ แต่ไม่

ว่าจะด้วยเครื่องมือใด ๆ การเริ่มต้นจากตัวคุณเองและทีมงาน บนความเข้าใจลูกค้าอย่าง

เจาะลึก ปราศจากอคคิคิดเข้าข้างตนเอง คือ เรื่องสำ คัญ … แล้วลงมือทำ