AI กับโลกธุรกิจยุค VUCA โลกที่ต้องหวาดหวั่น หรือไม่ต้องหวั่นไหว

AI กับโลกธุรกิจยุค VUCA โลกที่ต้องหวาดหวั่น หรือไม่ต้องหวั่นไหว

     ในบทความหนึ่งของ Berkeley Executive Education (Berkeley Exec Ed.) ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับผู้บริหารภาคธุรกิจระดับสูงของ University of California at Berkeley (ซึ่งไม่ใช่ California University ที่กำลังอยู่ในกระแสสังคมไทยเวลานี้) ได้กล่าวถึงอิทธิพลของ AI หรือ Artificial Intelligence ที่มีชื่อเรียกเป็นทางการในภาษาไทยว่า ปัญญาประดิษฐ์ ได้อย่างน่าสนใจว่า “The advent of the AI era carries profound implications for our societies beyond technological advancements and business models. It prompts crucial questions about the evolving roles of humans as machines gain cognitive capabilities, particularly in leadership, decision-making, and strategy.”

     ซึ่งมีเนื้อหาโดยย่อ คือ AI ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสังคมและรูปแบบการดำเนินธุรกิจ จนมนุษยชาติต้องทบทวนบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปในทุก ๆ ด้าน ทั้งความคิด และตัดสินใจ เมื่อเทคโนโลยีหรือเครื่องจักรมีความสามารถที่จะ “คิด” ได้แล้ว

     AI จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เสริมสภาวะ VUCA ให้กับโลกในทุก ๆ มิติยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในโลกธุรกิจและการบริหารจัดการต่าง ๆ ให้ยิ่งยากจะพยากรณ์หรือคาดเดาปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในอนาคตได้ แต่สิ่งที่แน่นอนที่สุดในวันนี้ คือ AI ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ในธุรกิจ และการทำงานของเราอย่างยากจะปฏิเสธไปแล้ว ดังนั้น แทนที่จะมาหวาดหวั่นกับผลกระทบจาก AI กลับควรศึกษา AI ในมิติที่จะมาเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานและธุรกิจของเรา ที่องค์กรชั้นนำระดับโลกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น World Economic Forum และ United Nations หรือสถาบันวิจัย เช่น McKinsey Global Institue หรือ Forrester Research และภาคธุรกิจต่าง ๆ อาทิ PwC และ Accenture เป็นต้น ได้กล่าวถึงบทบาทและความท้าทายใหม่สำหรับการบริหารธุรกิจ ในยุคที่มี AI เป็นตัวแปรสำคัญได้อย่างน่าสนใจ คือ

ประโยชน์ (ที่น่าจะเป็น) ของ AI ต่อการบริหารธุรกิจ ที่น่าจะเห็นได้อย่างชัดเจน คือ

เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต : AI สามารถช่วยแบ่งเบาภาระงานที่มีลักษณะงานซ้ำซากของเรา เพื่อให้พวกเรามีเวลาและสามารถที่จะปลดปล่อยพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าได้มากขึ้น

การตัดสินใจที่ดีขึ้น : เราจะสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อ AI สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก ระบุรูปแบบ และพยากรณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้แม่นยำกว่าเรา

ปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า : เพราะ AI จะช่วยให้เราคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าได้ล่วงหน้าและแม่นยำ เราจึงสามารถที่จะสร้างและมอบประสบการณ์ที่ตรงใจ ทั้งในด้านการคิดค้นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะสร้างความพอใจสูงสดแก่ลูกค้าได้

ลดต้นทุน : ประโยชน์ในข้างต้นต่าง ๆ ของ AI จะเป็นปัจจัยสำคัญของการลดต้นทุนการดำเนินงานของเราอย่างอย่างมีประสิทธิผล จากการลดความผิดพลาด และการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

ความท้าทายต่อการใช้ AI ในการบริหารธุรกิจ

แน่นอนว่า AI มีประโยชน์ต่อการบริหารธุรกิจในวันนี้ และต่อไปในอนาคต แต่การจะประยุกต์ ปรับปรุง และพัฒนาองค์กรหนึ่ง ๆ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้นด้วย AI ยังเป็นสิ่งท้าทายผู้นำของแต่ละองค์กร เช่น

ต้นทุนการพัฒนา : การประยุกต์ ปรับปรุง พัฒนา นำไปใช้ และการบำรุงรักษาเทคโนโลยี AI นั้น ย่อมมีต้นทุนหรือราคาสูง

ขาดแคลนทักษะ : AI ต้องการบุคลากรที่มีทักษะในการพัฒนา จัดการ และบำรุงรักษาเทคโนโลยี AI ที่นับว่ายังขาดแคลนบุคลากรในกลุ่มนี้ ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป หรือญี่ปุ่น

ปัญหาทางจริยธรรม : การนำ AI มาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจหรือการดำเนินงาน อาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การเลือกปฏิบัติ การละเมิดความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัย ทั้งของบุคลากรภายในและนอกองค์กรหรือลูกค้าของเราได้

การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม : แน่นอนว่าเมื่อนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้งานในองค์กร บุคลากรต้องปรับตัว และโดยเฉพาะการ “คิด” ให้ทัน AI ด้วย

อคติ : ซึ่งมีที่มาทั้งในมุมของมนุษย์ซึ่งอาจจะมีอคติต่อ AI เพราะเชื่อว่าเทคโนโลยี AI จะเป็นต้นเหตุของการสูญเสียงาน ดังจะเห็นได้จากการ Lay-off บุคลากรนับแสนอัตราในองค์กรเทคโนโลยีระดับแนวหน้าต่าง ๆ เช่น Microsoft, Google, IBM, Meta (Facebook) หรือ Amazon ฯลฯ ไม่นับรวมถึงอคติต่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจจะถูกละเมิดได้โดยง่าย หรือแม้แต่การสูญเสียศักยภาพในการควบคุมการดำเนินงานของผู้นำระดับต่าง ๆ เมื่อมีการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในองค์กร และพึ่งพา AI อย่างเป็นรูปธรรมและเบ็ดเสร็จ

ในขณะที่ AI มีระบบการทำงานบนฐานข้อมูลจำนวนมาก ทุกการตัดสินใจของ AI จึงอาจจะก่อให้เกิดคำถามถึงความเป็นธรรมหรือการเลือกปฏิบัติต่อมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน

     หลายคนในวันนี้ อาจจะรู้สึกหวาดหวั่นกับการเข้ามาอิทธิพลของ AI แต่ไม่ควรหวั่นไหวที่จะยอมรับและใช้ AI ในการเปลี่ยนแปลงวิธีบริหารและจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับธุรกิจของเรา ทั้งการลดต้นทุน เพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจให้เข้าถึงลูกค้าได้ดีและมากขึ้น สร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันทางการตลาดกับคู่แข่ง โดยเริ่มต้นจากการเรียนรู้ ทำความเข้าใจ ตระหนักถึงความท้าทายในด้านต่าง ๆ และวางแผนกำหนดกลยุทธ์อย่างรอบด้าน ก่อนที่จะนำเทคโนโลยี AI มาใช้ … และก่อนที่คู่แข่งจะใช้ AI มาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปจากเรา

     เราไม่สามารถปฏิเสธการมีอยู่ และอิทธิพลของ AI ในชีวิตประจำวัน หรือต่อการดำเนินงานและบริหารธุรกิจได้ ทำได้เพียงเรียนรู้ และปรับตัวให้อยู่ร่วมด้วยได้ เช่นการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยต่าง ๆ ในอดีต ตั้งแต่ Analog สู่ Digital และมาสู่ IoT หรือ Internet of Things ในทุกวันนี้

โดย Draft แรกของบทความนี้ ก็มีที่มาจาก AI เช่นกัน … เธอชื่อ Gemini

          และเมื่อ AI มีอิทธิพลต่อการบริหารธุรกิจ เราต้องเริ่มทำความเข้าใจ ตระหนักถึงความท้าทายใหม่ ๆ จาก AI ก่อนจะนำเทคโนโลยี AI มาใช้ และก่อนที่คู่แข่งของคุณจะใช้ AI มาแย่งลูกค้าไปจากคุณ 

     และด้วยโลกในยุค VUCA World นี้เอง ทางศูนย์เชี่ยวชาญการตลาดแห่งภูมิภาคเอเชีย (AMEC) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ออกแบบหลักสูตร Fast Mini MBA for New Manager in the Age of VUCA เพื่อช่วยธุรกิจไทยมีความแข็งแกร่งหรือเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ ด้วยหลักสูตรด้านการบริหารธุรกิจแบบเร่งรัด 60 ชม. โดยนักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ กว่า 20 น ช่วยกันระดมหาแนวความคิดใหม่ๆ และวัฒนธรรมในรูปแบบใหม่ๆ เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันและในวิถีการทำงานใหม่ เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และไม่แน่นอนของโลกสมัยใหม่ มีการเพิ่มความเข้มข้นด้านการบริหารจัดการอย่างรอบด้าน มีความทันสมัยแตกต่างจากเดิม

ติดตามรายละเอียดหลักสูตร Fast Mini MBA for New Manager in the Age of VUCA 
ทางเว็บไซต์ : https://www.fastminimba.com     

สอบถามข้อมูลที่ Line : @fastminimba