กับดักการจัดการ SCM in e-Business

กับดักการจัดการ SCM in e-Business

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ที่เราไม่อาจจะหลีกเลี่ยงการปรับตัวตามกระแสเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในทุก ๆ ระดับของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในแต่ละอุตสาหกรรม และทุก ๆ มิติของการดำเนินงานในแต่ละธุรกิจ … จึงอาจจะกล่าวได้ว่า เรามาถึงยุค e -Business แล้ว!

เพราะหากเรานำนิยาม หรือความหมาย ของ e-Business ที่มีผู้รู้ได้อธิบายไว้ คือ การใช้เทคโนโลยี และเครือข่าย (Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารทั้งภายใน-ภายนอกองค์กร ตั้งแต่ Suppliers พันธมิตร คู่ค้า ถึงลูกค้า ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น นั่นคือ เพิ่มยอดขาย และลดต้นทุนนั่นเอง

การเพิ่มยอดขาย คือ การใช้เทคโนโลยี และช่องทางการสื่อสาร Online ต่าง ๆ เพื่อการสร้างช่องทางการตลาดสำหรับการเข้าถึง นำเสนอสินค้าหรือบริการของเราให้แก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย พร้อมกับนำข้อมูลทางการตลาดจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาประเมินและวิเคราะห์ ให้เรารู้จัก รู้ใจ ที่จะนำเสนอสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าของเราได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับการลดต้นทุนด้วยเทคโนโลยี ในแบบ e-Business นั้น คือ การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของเราด้วยเทคโนโลยี และเครือข่ายสารสนเทศ ที่เชื่อมต่อการทำงานกับ Suppliers พันธมิตร หรือคู่ค้าของเราได้อย่างไร้รอยต่อ หรือ Supply Chain Management (SCM) ที่ช่วยให้เราบริหารงานได้อย่างมีคุณภาพ ตรงหรือทันเวลา (Just in Time) ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาดแก่เรา

การพัฒนา SCM สำหรับ e-Business ในวันนี้ แม้จะไม่ใช่เรื่องยากเหมือนอดีต แต่ยังมีกับดักที่อาจจะสร้างผลกระทบยิ่งใหญ่กับธุรกิจของเราได้เช่นกัน ซึ่งกับดักใน SCM มีหลายด้าน บางแหล่งข้อมูลอาจจะรวบรวมได้มากกว่า 10 เรื่อง แต่ในที่นี้ขอรวบตึงให้เหลือประเด็นสำคัญ ๆ ตั้งแต่การเตรียมความพร้อม ถึงการนำ SCM มาปรับใช้ในธุรกิจของเรา ได้เป็น 5 เรื่อง คือ

  1. ตรวจสอบการจัดการSupply Chain ในปัจจุบันของเราไม่ครบวงจร

ควรค้นหาจุดอ่อนที่ต้องได้รับการแก้ไข และจุดแข็งที่จะสามารถยกระดับได้ด้วยการประยุกต์ใช้ SCM สำหรับ e-Business

การตรวจสอบการจัดการ Supply Chain ของเรา ควรให้ทราบทุกขั้นตอนของธุรกรรม หรือ Transaction ที่เกิดขึ้น และไม่ได้เป็นเพียงการตรวจสอบย้อนกลับจากคลังสินค้าของเราไปสู่ Suppliers พันธมิตร หรือคู่ค้า เท่านั้น แต่ต้องตรวจสอบจากคำสั่งซื้อของลูกค้ามายังคลังสินค้าของเราด้วย เพราะในปัจจุบันที่มี OMNI Channel ขึ้นมาให้ความสะดวก หรือตามใจลูกค้ามากขึ้น ยิ่งทำให้ SCM มีความซับซ้อนขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยประกอบการตัดสินใจเลือกระบบ SCM ของเราต่อไป

  1. เลือกใช้ SCMไม่เหมาะสม

การเลือกใช้ระบบ หรือ Application เกี่ยวกับ SCM ที่เหมาะสมนั้น ไม่ได้มีปัจจัยการพิจารณาจากรูปแบบการดำเนินงานหรือธุรกิจของเราเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาถึงความสามารถเชื่อมต่อการทำงานระหว่างเรากับ Suppliers พันธมิตร หรือคู่ค้าของเราได้อย่างไร้รอยต่อ ซึ่งมีแนวทาง และแนวคิดสำหรับการพิจารณา SCM คือ

– แก้ไขจุดอ่อน และสนับสนุนจุดแข็งใน Supply Chain ของเรา หรือไม่?

– รองรับปริมาณ Transaction ที่อาจจะเพิ่มขึ้นกว่าปกติ หรือไม่?

– รองรับคำสั่งซื้อในรูปแบบ OMNI Channel หรือไม่?

– รองรับกลยุทธ์ หรือแผนธุรกิจในอนาคต หรือไม่?

– เชื่อมต่อ หรือทำงานร่วมกับระบบ SCM ของ Suppliers และพันธมิตร หรือไม่?

  1. 3. สินค้าคงคลัง …  ยังไม่ Lean & Just in Time

สินค้าคงคลังตามแนวคิด SCM สำหรับ e-Business ไม่ได้มีเพียงสินค้าสำเร็จรูป พร้อมขาย พร้อมจัดส่ง รออยู่ในคลังสินค้าของเราเท่านั้น แต่หมายความถึง สินค้าที่อยู่ระหว่างผลิต และการจัดส่ง ที่เราต้องรู้ ต้องตรวจสอบนับจำนวนได้ถูกต้องแม่นยำแบบ Realtime เพื่อป้องกันการรับคำสั่งซื้อสินค้าที่ไม่มีในคลังสินค้า หรือมีสินค้าล้นคลังจนกลายเป็นต้นทุนที่เราต้องแบกรับภาระไป

การบริหารสินค้าคงคลังที่เหมาะสม คือ ควรใช้ Lean Management และ Just in Time มาประยุกต์ร่วมกับระบบ SCM ที่จะข่วยป้องกันความบกพร่องจากการบริหารสินค้าคงคลังของเรา

  1. 4. ผู้ให้บริการLogistics มีศักยภาพหรือไม่?

บทบาทและงานด้าน Logistics จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ แต่ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับการบริหารคลังสินค้า การจัดจำหน่าย และการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ดังนั้น Logistics จึงเป็นส่วนงานที่น่าเป็นห่วงใน SCM เพราะความยากกับการจัดการให้มีความถูกต้อง แม่นยำ และแน่นอนเสมอไปใน Supply Chain ของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธุรกิจที่มี Supply Chain ที่ซับซ้อนมาก ๆ

ในกรณีที่เราไม่ได้มีหรือบริหาร Logistics ด้วยตัวเอง การ Outsource งานดังกล่าว ให้กับผู้ที่มีความสามารถเฉพาะทาง หรือผู้ให้บริการ Logistics คือ ทางออกที่เหมาะสม แต่เป็นความเหมาะสมที่มาพร้อมกับความเสี่ยง หรือเป็นกับดักของ SCM ที่สำคัญที่สุดของเรา เพราะแทนที่เราจะบริหาร Supply Chain ของเราให้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เร็วขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำ แต่ทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้น ถ้าหากเกิดข้อบกพร่องด้าน Logistics หรือการขนส่งขึ้นในระบบ Supply Chain ของเรา

จุดใดจุดหนึ่งที่บกพร่องจาก Logistics เช่น การจัดส่งล่าช้าจาก Suppliers สินค้าตกค้างระหว่างการผลิต การจัดส่งสินค้าไปยังช่องทางจัดจำหน่ายหรือลูกค้าไม่ตรงเวลา ฯลฯ สามารถสร้างผลกระทบต่อธุรกิจ และ Brand ของเราได้มาก ดังนั้น การเลือกผู้ให้บริการ Logistics จึงควรตรวจสอบศักยภาพ และประวัติการดำเนินงานของผู้ให้บริการให้ดีและรอบคอบ พร้อมกับการจัดทำแผนสำรองเผื่อไว้เสมออีกด้วย

  1. ฝึกอบรมบุคลากร

เมื่อยกระดับธุรกิจมาสู่ e-Business ด้วย SCM หรือ Supply Chain Management แล้ว ต้องมีแผนพัฒนาบุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้อง ให้รู้และเข้าใจการใช้งานระบบ ทั้งการใช้งานระบบในภาวะปกติ และการใช้งานภายใต้สถานการณ์พิเศษต่าง ๆ ที่เราจำลองสถานการณ์ขึ้นมา ให้บุคลากรได้เรียนรู้ และพร้อมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ทันสถานการณ์

 

      การดำเนินธุรกิจในวันนี้ แม้จะอยากหรือไม่อยากเปลี่ยนแปลง ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงสู่การเป็น e-Business ทั้งด้วยการผลักดันจากภายในธุรกิจ โดยตัวเราเอง หุ้นส่วน หรือแม้แต่บุคลากร แต่ที่น่าจะเป็นแรงผลักดัน และกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงได้มากกว่า คือ แรงผลักดันจากภายนอก ทั้งจาก Suppliers พันธมิตร หรือคู่ค้า ที่ย่อมต้องการให้เรานำ SCM มาใช้งาน เพื่อสร้างระบบการทำงานที่ง่าย มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ ให้เกิดขึ้นร่วมกัน แต่ที่สำคัญยิ่งกว่า คือ แรงผลักดันจากลูกค้า ลูกค้า และลูกค้า